ยินดีต้อนรับทุกท่าน.....ที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของ สมุนไพรไทย

สมุนไพร หมายถึง พืชที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ การใช้สมุนไพรสำหรับรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ นี้ จะต้องนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า "ยา" ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า "เภสัชวัตถุ"พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ดร้อน ใช้เป็นยาสำหรับขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า "เครื่องเทศ" ในพระราชบัญญัติยาฉบับที่3 ปีพุทธศักราช 2522 ได้แบ่งยาที่ได้จากเภสัชวัตถุนี้ไว้เป็น 2 ประเภทคือ ยาแผนโบราณ และยาสมุนไพร

ปัจจุบันมีผู้พยายามศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนายาสมุนไพรให้สามารถนำมาใช้ในรูปแบบที่สะดวกยิ่งขึ้น เช่น นำมาบดเป็นผงบรรจุแคปซูล ตอกเป็นยาเม็ด เตรียมเป็นครีมหรือยาขี้ผึ้งเพื่อใช้ทาภายนอก เป็นต้น ในการศึกษาวิจัยเพื่อนำสมุนไพรมาใช้เป็นยาแผนปัจจุบันนั้น ได้มีการวิจัยอย่างกว้างขวาง โดยพยายามสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรเพื่อให้ได้สารที่บริสุทธิ์ ศึกษาคุณสมบัติทางด้านเคมี ฟิสิกส์ของสารเพื่อให้ทราบว่าเป็นสารชนิดใด ตรวจสอบฤทธิ์ด้านเภสัชวิทยาในสัตว์ทดลองเพื่อดูให้ได้ผลดีในการรักษาโรคหรือไม่เพียงใด ศึกษาความเป็นพิษและผลข้างเคียง เมื่อพบว่าสารชนิดใดให้ผลในการรักษาที่ดี โดยไม่มีพิษหรือมีพิษข้างเคียงน้อยจึงนำสารนั้นมาเตรียมเป็นยารูปแบบที่เหมาะสมเพื่อทดลองใช้ต่อไป

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

เสื้อกันยุงสมุนไพร ภูมิปัญญาของคนไทย


           เสื้อกันยุงสมุนไพร ภูมิปัญญาของคนไทย ... ต้านภัยร้ายจากเจ้าตัวกระหายเลือด วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล” กรรมการผู้จัดการบริษัท แนนท์ จำกัด ผู้ประกอบการสิ่งทอครบวงจร หนึ่งในผู้ประกอบการกลุ่มคัสเตอร์สิ่งทอเพชรเกษม จึงร่วมกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรม ทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอกันยุงหรือไล่ยุง โดยเน้นการใช้พืชสมุนไพรไทยซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและเป็นภูมิปัญญาไทย
          คุณวิศัลย์ บอกว่า บริษัทตนเองเป็นผู้ประกอบการสิ่งทอทำตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำคือทำตั้งแต่ การคัดเลือกเส้นใย ทอผ้า ย้อมผ้าจนถึงการตัดเย็บออกมาเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ที่ผ่านมาทำตลาดภายใต้แบรนด์ ไฮโดร-เทค (Hydro-Tech) ซึ่งใช้เทคโนโลยีการผลิตเส้นใยต่าง ๆ ทำให้เสื้อผ้ามีคุณสมบัติพิเศษในการป้องกันรังสียูวี ดูดซับเหงื่อได้ดี แห้งเร็วและปราศจากเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและผิวหนังผ้า และที่สำคัญคุณสมบัติหลักเหล่านี้จะอยู่ถาวรเพราะทำในระดับใยผ้า ส่วนการนำสมุนไพรไทยมาประยุกต์ใช้จะเป็นคุณสมบัติที่เพิ่มขึ้นมา  สำหรับไอเดียเสื้อผ้ากันยุงกันแมลงนี้ ปัจจุบันต่างประเทศก็มีผลิตภัณฑ์ให้เห็นแต่ใช้สารเคมีเคลือบใยผ้า ก่อปัญหา เรื่องสารตกค้างและเด็กไม่สามารถใช้ได้ ขณะที่สมุนไพรเป็นภูมิ ปัญญาไทยมีหลายหมื่นชนิด ลอกเลียนแบบได้ยาก บริษัทจึงเลือกมาเป็นจุดขาย ซึ่งการทำวิจัยนี้ต้องอาศัยสหวิทยาการ ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ด้านแมลง และด้านสิ่งทอ ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่เป็นเสื้อกันยุงสมุนไพรรายแรกของไทย                   
           งานวิจัยผ่านการทดสอบจากสถาบันวิทยาศาสตร์สาธารณสุขกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แล้วว่าสามารถป้องกันยุงได้จริง โดยทดสอบครั้งแรกสามารถลดอัตราการกัดของยุงได้ถึง 90% และเมื่อนวัตกรรมดังกล่าว เป็นการนำสมุนไพรไทยที่มีคุณสมบัติกันยุงมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยผสมผสาน กับเทคโนโลยีไมโครเอนแคปซูเลชั่นMicroencapsulation หรือเทคโนโลยีสำหรับการบรรจุหรือห่อหุ้มสารสำคัญ ในลักษณะแคปซูลระดับไมโคร นำมาประยุกต์ใช้ใน เสื้อผ่านกระบวนการ Finishingเพื่อเก็บกักสมุนไพรกันยุงไว้บนเนื้อผ้า แล้วค่อย ๆ แตกตัวออกมา ต่อไปบริษัทจะทำชนิดเติม คล้ายกับการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม เพิ่มสารกันยุงในเนื้อผ้า เพราะมีแคปซูลติดอยู่ที่ใยผ้าอยู่แล้ว 
              สำหรับแผนการทำตลาดเบื้องต้นบริษัทนำมาผลิตเป็นเสื้อเหลืองเฉลิมฉลองพระ ชนมพรรษา 80 พรรษาภายใต้แบรนด์ Hydro-Tech วางจำหน่ายต้นเดือนสิงหาคม ที่สยามพารากอน เดอะ มอลล์บางกะปิและเดอะมอลล์งามวงศ์วาน ราคาตั้งแต่ 380-1,200 บาท ตามคุณสมบัติเพิ่มเติมในเนื้อผ้า นวัตกรรมดังกล่าวช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เดิมไม่ต่ำกว่า 10%
              อนาคตบริษัทวางแผนขยายตลาดเสื้อกันยุงไปสู่อุตสาหกรรมการแพทย์โดยพัฒนาเป็นชุดคนไข้ในโรงพยาบาล ซึ่งไม่สามารถฉีดสารกันยุง คุณวิศัลย์ บอกว่า เสื้อกันยุงสมุนไพร แค่เป็นตัวนำร่อง เพราะเรื่องสมุนไพรไทยยังมีเรื่องทำได้อีกเยอะ อนาคตอาจจะมีเสื้อสำหรับช่วยเลิกบุหรี่ หรือเสื้อที่สวมใส่แล้วสามารถทำให้กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดได้ดี ทั้งหมดนี้มีไอเดีย ซึ่งบริษัทได้จัดตั้งเป็นบริษัทวิจัยนวัตกรรมสิ่งทอจำกัดขึ้นรองรับการต่อยอดงานวิจัยต่อไป
นี่คือการยืนยัน นวัตกรรมคือสิ่งจำเป็นในการสร้างความเข้มแข็งให้กับการแข่งขันที่ยั่งยืน ซึ่งคุณวิศัลย์ บอกว่า...ตราบใดที่มนุษย์ยังต้องใส่เสื้อผ้า นวัตกรรมสิ่งทอก็ยังไม่หยุด...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น