ยินดีต้อนรับทุกท่าน.....ที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของ สมุนไพรไทย

สมุนไพร หมายถึง พืชที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ การใช้สมุนไพรสำหรับรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ นี้ จะต้องนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า "ยา" ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า "เภสัชวัตถุ"พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ดร้อน ใช้เป็นยาสำหรับขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า "เครื่องเทศ" ในพระราชบัญญัติยาฉบับที่3 ปีพุทธศักราช 2522 ได้แบ่งยาที่ได้จากเภสัชวัตถุนี้ไว้เป็น 2 ประเภทคือ ยาแผนโบราณ และยาสมุนไพร

ปัจจุบันมีผู้พยายามศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนายาสมุนไพรให้สามารถนำมาใช้ในรูปแบบที่สะดวกยิ่งขึ้น เช่น นำมาบดเป็นผงบรรจุแคปซูล ตอกเป็นยาเม็ด เตรียมเป็นครีมหรือยาขี้ผึ้งเพื่อใช้ทาภายนอก เป็นต้น ในการศึกษาวิจัยเพื่อนำสมุนไพรมาใช้เป็นยาแผนปัจจุบันนั้น ได้มีการวิจัยอย่างกว้างขวาง โดยพยายามสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรเพื่อให้ได้สารที่บริสุทธิ์ ศึกษาคุณสมบัติทางด้านเคมี ฟิสิกส์ของสารเพื่อให้ทราบว่าเป็นสารชนิดใด ตรวจสอบฤทธิ์ด้านเภสัชวิทยาในสัตว์ทดลองเพื่อดูให้ได้ผลดีในการรักษาโรคหรือไม่เพียงใด ศึกษาความเป็นพิษและผลข้างเคียง เมื่อพบว่าสารชนิดใดให้ผลในการรักษาที่ดี โดยไม่มีพิษหรือมีพิษข้างเคียงน้อยจึงนำสารนั้นมาเตรียมเป็นยารูปแบบที่เหมาะสมเพื่อทดลองใช้ต่อไป

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

สมุนไพรเพื่อหญิงตั้งครรภ์



 อาการ “คลื่นไส้อาเจียน” ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกได้ว่า...คุณกำลังแพ้ท้องเพราะตั้งครรภ์ ซึ่ง บางคนมีอาการมากน้อยแตกต่างกันไปหรือในบางรายสามีกลับแพ้ท้องแทนภรรยาก็มี โดยแต่ละคนนั้นมีวิธีการแก้อาการเหล่านี้ที่อาจไม่เหมือนกัน นำเสนอวิธีแก้อาการแพ้ท้องมาฝากผู้หญิงทุกคน รวมทั้งผู้ชายที่มีอาการแพ้ท้องแทนภรรยาก็สามารถนำไปใช้ได้เหมือนกัน   
   
 และสมุนไพรที่กำลังจะกล่าวถึง ได้แก่ “ขิง” มีสรรพคุณช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร ทำให้ร่างกายอบอุ่น ที่สำคัญใช้รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างเช่นในหญิงที่ตั้งครรภ์แล้วเกิด อาการแพ้ท้องขึ้นมา รวมถึงอาการเมารถเมาเรือด้วย ด้วยการนำเหง้าขิงแก่สดประมาณ 2-3 เหง้า มาทุบให้แตก ต้มกับน้ำ 2 ลิตร ใช้ดื่มแต่น้ำวันละ 3 ครั้ง ทั้งนี้ในทางยาจะนิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก แต่ก็มีข้อควรระวัง ! อย่าให้น้ำขิงที่ใช้ดื่มมีความเข้มข้นมากๆ เนื่องจากจะออกฤทธิ์ตรงข้ามกัน คือ ระงับการบีบตัวของลำไส้ จึงควรใช้ในปริมาณที่พอดี นอกจากนี้ ขิงอ่อนยังมีคุณค่าทางอาหารอยู่มากเช่นกัน โดยสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะทำเป็นไก่ผัดขิง ใส่ในต้มส้มปลากระบอก หรือโรยหน้าโจ๊ก เป็นต้น




            ยังมีผักสมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นยาวิเศษ ซึ่งใช้บำรุงน้ำนมแม่ลูกอ่อนได้เป็นอย่างดีมาฝากกันอีก 1 ชนิด นั่นคือ “หัวปลี” ด้วยการนำมาใช้ประกอบอาหารรับประทานได้ตั้งแต่แกงไก่ใส่หัวปลี ต้มยำหัวปลี และโดยเฉพาะแกงเลียง ที่หัวปลีจะมีรสชาติหวานนุ่ม อร่อยดี หากได้รับประทานหลังคลอดจะช่วยเพิ่มปริมาณของน้ำนม ทั้งยังมีธาตุเหล็กอยู่ทีเดียวครับ ดังนั้น คุณแม่ลูกอ่อนจึงควรรับประทานอาหารที่มีหัวปลีเป็นส่วนประกอบมากๆ ระหว่างที่ยังให้นมลูก หรือรับประทานกันแบบดิบๆ ก็ได้ ซึ่งมักอยู่ในรูปเครื่องเคียง เช่น ในผัดไทย แต่มีรสชาติฝาดนิดหน่อยครับ ออ ในเวลาที่เราหั่นหัวปลีเพื่อใช้ทำอาหารนั้นมักจะดำคล้ำทันที ให้แก้โดยใช้น้ำส้มสายชูผสมน้ำเล็กน้อย (อย่าใส่เยอะเพราะเดี๋ยวจะมีรสเปรี้ยวมาก) แล้วแช่ หัวปลีไว้สักครู่ รับรองว่าหัวปลีจะมีสีขาวน่ารับประทาน

              


       หากยามนี้ใครมีคนใกล้ชิดที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ละก็ ควรแนะนำให้ลองรับประทานพืชผักสมุนไพรดังที่กล่าวนี้กันดู เพื่อความสมบูรณ์แข็งแรงของทั้งคุณแม่และลูก จะได้ไม่ต้องพึงยาแก้แพ้หรือยาบำรุงต่างๆ อาจทำให้เสียสุขภาพก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น