ยินดีต้อนรับทุกท่าน.....ที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของ สมุนไพรไทย

สมุนไพร หมายถึง พืชที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ การใช้สมุนไพรสำหรับรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ นี้ จะต้องนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า "ยา" ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า "เภสัชวัตถุ"พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ดร้อน ใช้เป็นยาสำหรับขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า "เครื่องเทศ" ในพระราชบัญญัติยาฉบับที่3 ปีพุทธศักราช 2522 ได้แบ่งยาที่ได้จากเภสัชวัตถุนี้ไว้เป็น 2 ประเภทคือ ยาแผนโบราณ และยาสมุนไพร

ปัจจุบันมีผู้พยายามศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนายาสมุนไพรให้สามารถนำมาใช้ในรูปแบบที่สะดวกยิ่งขึ้น เช่น นำมาบดเป็นผงบรรจุแคปซูล ตอกเป็นยาเม็ด เตรียมเป็นครีมหรือยาขี้ผึ้งเพื่อใช้ทาภายนอก เป็นต้น ในการศึกษาวิจัยเพื่อนำสมุนไพรมาใช้เป็นยาแผนปัจจุบันนั้น ได้มีการวิจัยอย่างกว้างขวาง โดยพยายามสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรเพื่อให้ได้สารที่บริสุทธิ์ ศึกษาคุณสมบัติทางด้านเคมี ฟิสิกส์ของสารเพื่อให้ทราบว่าเป็นสารชนิดใด ตรวจสอบฤทธิ์ด้านเภสัชวิทยาในสัตว์ทดลองเพื่อดูให้ได้ผลดีในการรักษาโรคหรือไม่เพียงใด ศึกษาความเป็นพิษและผลข้างเคียง เมื่อพบว่าสารชนิดใดให้ผลในการรักษาที่ดี โดยไม่มีพิษหรือมีพิษข้างเคียงน้อยจึงนำสารนั้นมาเตรียมเป็นยารูปแบบที่เหมาะสมเพื่อทดลองใช้ต่อไป

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

สมุนไพรรักษาอาการคลื่นไส้ อาเจียน


            อาการคลื่นไส้อาเจียนเป็นกลไกที่ร่างกายกำจัดเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ในกระเพาะอาหารออกทางปาก มีสาเหตุมากมาย ทั้งที่ไม่รุนแรง เช่น รับประทานอาหารมากเกินไป อาหารไม่ย่อย เป็นต้น จนถึงรุนแรงมาก เช่น ความผิดปกติของสมอง เลือดออกในสมองจากอุบัติเหตุ โรคตับอักเสบ กระเพาะอาหารอุดตัน ไส้ติ่งอักเสบ ติดเชื้อในทางเดินอาหารอย่างแรง เป็นต้น อาการอาเจียนที่สามารถใช้สมุนไพรได้ คือ เมารถ เมาเรือ อาหารไม่ย่อย หรือโรคที่ได้รับการวินิจฉัยและอยู่ในความดูแลของแพทย์ เช่น อยู่ระหว่างการรักษามาลาเรีย เป็นต้น 


กะเพรา  ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ 


ขิง  ใช้เหง้าสดขนาดนิ้วหัวแม่มือ ต้มกับน้ำ หรือใช้ผงขิงชงน้ำดื่ม


ยอ   ผลดิบแก่ให้ฝานผลเป็นชิ้นบางๆย่างไฟหรือคั่วให้เหลืองกรอบ ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม 
ต้มหรือชงดื่มน้ำร้อน จิบบ่อยๆ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น